วิทยานิพนธ์ คือ
วิทยานิพนธ์ (Thesis หรือ Dissertation) เป็นการเสนอรายงานผลการศึกษาค้นคว้าหรือวิจัย อาจเสนอขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอก โดยมุ่งเน้นให้ผู้ศึกษามีโอกาส และสามารถศึกษาด้วยตนเอง รู้จักคิดอย่างมีระเบียบ มีเหตุผล รู้จักประมวลผลและวิเคราะห์ผลจากข้อมูล ที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า เพื่อให้เห็นแนวทางที่หลากหลายในการศึกษาอย่างลึกซึ้ง อันจะได้รับความรู้ มีความคิด และมีความสามารถมากกว่าการศึกษาจากตำราหรือจากผู้สอนแต่เพียงอย่างเดียว
การทำวิทยานิพนธ์ มีขั้นตอนที่สรุปได้ ดังนี้
- การเลือกเรื่อง/หัวข้อที่จะทำวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วยการพิจารณาปัญหา เกณฑ์ในการพิจารณาปัญหา การกำหนดชื่อของเรื่องที่จะศึกษา การตั้งสมมติฐาน และการนิยามปัญหา
- การใช้ห้องสมุดและการสืบค้นฐานข้อมูล รู้จักแหล่งข้อมูล หรือฐานข้อมูลต่างๆ ในการค้นคว้าหาความรู้ประกอบการทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งต้องวิเคราะห์หรือพิจารณาเอกสารต่างๆ เหล่านั้น ว่ามีความเหมาะสมกับเรื่องที่กำลังศึกษา โดยทำบันทึกสิ่งที่ค้นได้ พร้อมแหล่งที่มา (บรรณานุกรม)
- การเรียบเรียงวิทยานิพนธ์ หลังจากการค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่างๆ แล้ว ต้องเรียบเรียงเนื้อหาเป็นไปตามลำดับจากข้อมูลที่ได้ศึกษาแต่ละหัวข้อมาวิเคราะห์และจัดเรียงให้เหมาะสมเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน โดยส่วนใหญ่แล้วส่วนประกอบของวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
- บทนำ เป็นบทที่ 1 ของวิทยานิพนธ์ กล่าวถึง ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ ขอบเขตของการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัยโดยย่อ และประโยชน์ที่จะได้รับ
- บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการเสนอทฤษฎี ข้อค้นพบจากรายงานการวิจัยที่มีการศึกษามาก่อน ผู้ศึกษาเขียนโยงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับเรื่องที่กำลังศึกษา สิ่งใดที่มีแล้ว สิ่งใดที่ยังต้องศึกษาเพิ่มเติม เพื่อช่วยให้เห็นความสำคัญและความจำเป็นในการทำวิทยานิพนธ์เรื่องนั้นยิ่งขึ้น
- บทที่ 3 วิธีการดำเนินการวิจัย กล่าวถึง ขั้นตอนการศึกษา วิจัยโดยละเอียด ตั้งแต่ ประชากร กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
- บทที่ 4 ผลการวิจัย เป็นการเสนอข้อค้นพบ จากการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการสรุปผลของการวิจัยว่าได้ผลอย่างไร เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ เพราะเหตุใด
- บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายและข้อเสนอแนะ เป็นการสรุปการศึกษาทั้งหมด ตั้งแต่ต้นจนจบ พร้อมทั้งอภิปราย เพื่อหาข้อสรุปและลงความเห็นเกี่ยวกับการวิจัยที่ได้นั้น รวมทั้งเสนอแนะการนำผลการวิจัยไปใช้ และการทำวิจัยต่อไป
- รายการอ้างอิง คือ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่นๆ ฐานข้อมูลออนไลน์ต่างๆ ที่ได้นำข้อมูลมาเพื่อประกอบการเขียนวิทยานิพนธ์
- ภาคผนวก คือ ข้อความที่ไม่สามารถบรรจุอยู่ในส่วนของเนื้อหา เป็นส่วนเสริมให้เกิดความเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น
- ประวัติผู้เขียนวิทยานิพนธ์ ครอบคลุม ชื่อ-นามสกุล วัน เดือน ปี และสถานที่เกิด วุฒิการศึกษา ตั้งแต่ขั้นปริญญาบัณฑิตหรือเทียบเท่าขึ้นไป สถานศึกษาและปี พ.ศ. ที่สำเร็จการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน ชื่อผลงานทางวิชาการที่ตีพิมพ์เผยแพร่ รางวัลหรือทุนการศึกษาที่ได้รับ ตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน และสถานที่ทำงาน
- ส่วนประกอบตอนต้น (Preliminary section) ประกอบด้วย ปกนอก ปกใน หน้าอนุมัติ หน้าบทคัดย่อ กิตติกรรมประกาศ สารบัญ สารบัญตาราง สารบัญภาพหรือสารบัญแผนภูมิ คำอธิบายสัญลักษณ์และคำย่อ
- ส่วนตัวเรื่อง (Body of text) เป็นเนื้อหาของวิทยานิพนธ์จะแบ่งออกเป็นกี่บทก็ได้แล้วแต่ความจำเป็น โดยส่วนใหญ่จะเป็น 5 บท คือ
- ส่วนประกอบตอนท้าย (References section) ประกอบด้วยรายการอ้างอิง ภาคผนวก ประวัติผู้เขียน
ระดับดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก)
เรียกว่า วิทยานิพนธ์ (Dissertation) โดย ผู้วิจัยได้ทำการทดลองค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มีวิธีการกระทำที่ถูกต้องและลึกซึ้งตามหลักวิชาการ และมีข้อมูลซึ่งบ่งชัดเจนถึงสิ่งที่ได้ ค้นพบใหม่ ซึ่งอาจจะนำไปใช้ในการสร้างทฤษฎีใหม่ หรือนำไปประยุกต์ใช้ต่อไปได้
ระดับมหาบัณฑิต (ปริญญาโท)
ก็เรียกว่า วิทยานิพนธ์ (Thesis) แต่ ถ้าแปลอังกฤษแล้วจะเรียกคนละแบบ โดย ผู้วิจัยได้ทำการทดลองค้นคว้าและทำการวิจัยมาอย่างดีพอสมควร ได้ข้อมูลที่อาจจะเป็นข้อมูลเพิ่มเติมหรือที่ได้ค้นพบใหม่ แต่ข้อมูลนั้น อาจจะยังต้องมีการทำวิจัยเพิ่มขึ้นอีกเพื่อยืนยันความถูกต้องแน่นอน จะสังเกตุได้ว่า ในบทที่ 5 จะมี ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
หรือ สารนิพนธ์ (Thematic Paper) ซึ่งเป็นการศึกษาค้นคว้าอิสระที่กำหนด สำหรับผู้ที่ศึกษาในหลักสูตรระดับมหาบัณฑิต แผน ข คือ รายงานขนาดยาวเกี่ยวกับ ข้อมูลต่างๆ ซึ่งได้มาจากการอ่าน รวบรวม และการวิเคราะห์ของผู้เขียน ข้อมูลเหล่านั้นได้มาจากผลงานของผู้อื่น ผู้เขียนไม่ได้ลงมือทำการวิจัยเอง แต่ได้สรุปผลของ ความคิดเห็นไว้เป็นเรื่องเดียวกัน
วิทยานิพนธ์
วิทยานิพนธ์[n.] thesis
ตัวอย่างประโยค
ในปีพ.ศ. 2543 ท่านได้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาคุมการทำวิทยานิพนธ์ และเป็นกรรมการด้วยผู้หนึ่ง
หมายเหตุ
บทนิพนธ์ที่ผู้เรียบเรียงยกเอาหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นวิจัยและพรรณนาขยายความเพื่อเสนอรับปริญญา
ดูคำอื่นๆในหมวดแปล ไทย-อังกฤษ LEXiTRONวิก
วิกรม
วิกฤต
วิกฤตการณ์
วิกฤติ
วิกฤติการณ์
วิกล
วิกลจริต
วิกาล
วิง
วิทยานิพนธ์ คือ
ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-อังกฤษ NECTEC’s Lexitron Dictionary