การตั้งสมมติฐาน การวิจัย คือ
การตั้งสมมติฐานการวิจัย
โดย รศ.พ.ต.อ.หญิง ดร.พัชรา สินลอยมา
ความหมาย
สมมติฐาน หมายถึง ข้อความที่คาด คะเนความสัมพันธ์หรือความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่ศึกษา ที่
สมมติขึ้นชั่วคราว สมมติฐาน ถือได้ว่าเป็นเครื่องช่วยในการก าหนดข้อมูลที่จะต้องรวบรวม
สมมติฐาน หมายถึง
• ข้อความหรือค าอธิบายเฉพาะที่ผู้วิจัยคาดคะเนค าตอบโดยอาศัยแนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
หรือประสบการณ์
• ข้อความหรือข้อสมมติซึ่งผู้วิจัยคาดไว้เกี่ยวกับคุณลักษณะของตัวแปร หรือความสัมพันธ์ของ 2 ตัว
แปรขึ้นไป
• เป็นข้อสมมติชั่วคราวเพื่อเป็นแนวทางในการค้นคว้าหาข้อเท็จจริง
มีนักวิชาการหลายท่านให้ความหมายของสมมติฐานไว้อย่างน่าสนใจ เช่น
สมมติฐาน คือ ค าสรุปโดยอาศัยการเดาเพื่อคาดการณ์ล่วงหน้า และค าสรุปนั้นยังไม่คงที่แน่นอนตายตัว
มีรากฐานมาจากความเป็นจริง สามารถทดสอบได้โดยการใช้ข้อมูล สมมติฐานอาจเป็นค าพูดที่กล่าวถึง
ความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อท านายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น
สมมติฐาน คือ ข้อความที่มีหน้าตาเสมือนข้อความเชิงบอกเล่า แต่แท้จริงแล้วเป็นการคาดคะเนถึง
สภาพการณ์นั้นๆ เอกลักษณ์ที่ส าคัญของสมมติฐานก็คือ เป็นการคาดการณ์ที่จะต้องทดสอบต่อไปว่าข้อเท็จจริง
เป็นอย่างไรแน่
สมมติฐาน คือ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เป็นข้อความที่ชี้แนะความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวแปร
ขึ้นไป หรือค าตอบปัญหาการวิจัยที่คาดหวังไว้ กล่าวโดยสรุปก็คือ สมมติฐานเป็นข้อเสนอที่ต้องพิสูจน์ให้แคบเข้า
หรือต้องการพิสูจน์ให้เป็นทฤษฎีนั่นเอง
สมมติฐาน คือ ข้อความเฉพาะที่ผู้วิจัยคาดคะเนค าตอบไว้ โดยอาศัยทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ความรู้ กฎเกณฑ์
ต่างๆ หรือจากประสบการณ์ของผู้วิจัยเอง ซึ่งจะใช้เป็นแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลต่อไป
สมมติฐาน คือ ข้อเสนอหรือเงื่อนไขต่างๆ ที่ผู้วิจัยก าหนดขึ้นมา โดยคาดคะเนว่าเป็นค าตอบของปัญหา
ซึ่งยังไม่มีการพิสูจน์และหากว่าได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นความจริงหรือตรงกับข้อเท็จจริง สมมติฐานนี้ก็จะกลายเป็น
ค าอธิบายที่ถูกต้อง กลายเป็นส่วนหนึ่งของความรู้ใหม่ สมารถสร้างเป็นหลักทั่วไป หรือกลายเป็นส่วนหนึ่งของ
ทฤษฎีที่ใช้อธิบายในพฤติกรรมเรื่องนั้นๆ ได้
สรุปก็คือ สมมติฐานเป็นส่วนหนึ่งของการอธิบายปรากฏการณ์ที่ต้องการศึกษา ในสมมติฐานเราจึงต้อง
ระบุให้ชัดเจนว่าอะไรสัมพันธ์กับอะไร สัมพันธ์กันอย่างไร หรืออะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นผล สมมติฐานเป็นข้อยืนยัน
เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองตัวหรือเกินกว่า
การตั้งสมมติฐานในการวิจัย (Research Hypothesis)
การตั้งสมมติฐานในการวิจัย เป็นขั้นตอนของการคาดคะเนหรือคาดเดาค าตอบของปัญหาการวิจัย
การคาดเดาค าตอบมีประโยชน์ในการก าหนดทิศทางการหาข้อมูล เพื่อตรวจสอบปัญหาการวิจัย เป็นการ คาดเดา
ค าตอบอย่างมีเหตุมีผล ผู้วิจัยควรตั้งสมมติฐานการวิจัยหลังจากที่ได้ศึกษาทฤษฎีเอกสารต่าง ๆ ตลอดจนงานวิจัย
ที่เกี่ยวข้อง จนผู้วิจัยมีแนวความคิดเพียงพอที่จะคาดเดา โดย
อาศัยเหตุผลเหล่านั้น ได้อย่างสมเหตุสมผล
สมมติฐานในการวิจัยเป็นค ากล่าวที่ แสดงความถึงความสัมพันธ์ที่คาดการณ์หรือเดาระหว่างตัวแปร
สองตัวขึ้นไป ค ากล่าวนี้จะต้องแสดงทิศทางของความสัมพันธ์ว่าเป็นเช่นไรเช่นเป็นบวกหรือลบและเป็นค ากล่าวที่
จะต้องพิสูจน์ต่อไปว่าเป็นจริงเช่นนั้นหรือไม่เพราะฉะนั้นสมมติฐานวิจัยจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
- มีตัวแปรอย่างน้อย 2 ตัวและระบุตัวแปรให้ชัดเจน ทั้งตัวแปรต้นและตัวแปรตาม
- เป็นความสัมพันธ์ที่จะต้องบอกทิศทาง ความสัมพันธ์ของตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป
- ต้องน าไปพิสูจน์ต่อไปในอนาคต
ความส าคัญของสมมติฐาน
สมมติฐานจัดว่าเป็นสิ่งที่จ าเป็นมากอย่างหนึ่งในการวิจัยเพราะเป็นแหล่งเชื่อมโยงระหว่างปัญหากับ
ข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ที่จะตอบปัญหา สมมติฐานยังเป็นเสมือนแนวทางในการส ารวจปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับ
ปัญหาที่ก าลังท าการสืบค้นอยู่นั้น ความส าคัญของสมมติฐานพอจะประมวลได้เป็นข้อๆ ดังนี้ - การชี้ให้เห็นปัญหาชัดเจน ถ้าไม่มีสมมติฐานเป็นเครื่องชี้น า ผู้วิจัยอาจเสียเวลาในการหาสาเหตุและ
การแก้ปัญหาโดยเป็นการกระท าที่ผิวเผิน แต่การตั้งสมมติฐานนั้น ผู้วิจัยจะต้องได้ตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนถึง
ข้อเท็จจริงและมโนทัศน์ที่คาดว่าจะสัมพันธ์กับปัญหา แล้วแยกแยะให้เห็นข้อสนเทศที่คาดว่าจะเกี่ยวข้องในเชิง
ความสัมพันธ์ทั้งนี้ในกระบวนการสร้างสมมติฐาน การนิรนัยผลที่ตามมา และการนิยามค าที่ใช้นั้นจะช่วยท าให้เห็น
ประเด็นของปัญหาที่ท าการวิจัยชัดเจนขึ้น - สมมติฐานช่วยก าหนดความเกี่ยวข้องระหว่างข้อเท็จจริง ความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ขึ้นอยู่กับ
ข้อเท็จจริงที่ได้รับการเลือกเฟ้นอย่างรอบคอบ ซึ่งเป็นสิ่งที่จ าเป็นอย่างยิ่งในการสืบค้นความจริง การรวบรวมข้อมูล
จ านวนมากโดยปราศจากจุดหมายนั้น เป็นการกระท าที่ไร้ประโยชน์เพราะข้อมูลเหล่านั้น ที่มิได้เลือกเฟ้นจะให้
เหตุผลที่เป็นไปได้หลายหลากแตกต่างกัน จนไม่สามารถจะสรุปเป็นข้อยุติที่ชัดเจนได้ ข้อเท็จจริงที่จ าเป็นในการ
แก้ไขปัญหานั้นจะไม่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติแต่ถ้ามีสมมติฐานแล้ว จะท าให้ผู้วิจัยแน่ใจว่าควรรวบรวมข้อเท็จจริง - อะไรมากน้อยแค่ไหนจึงจะเพียงพอที่จะทดสอบผลที่ตามมาได้ครบถ้วน สมมติฐานจึงช่วยในการ
ก าหนดและรวบรวมสิ่งที่ต้องการเพื่อแก้ปัญหาวิจัยนั้น - สมมติฐานเป็นตัวชี้การออกแบบการวิจัย สมมติฐานไม่ใช่เพียงแต่ชี้แนวทางว่าควรพิจารณา
ข้อสนเทศใดแต่จะช่วยบอกวิธีที่จะรวบรวมข้อมูลด้วย สมมติฐานที่สร้างอย่างดีจะเสนอแนะว่ารูปแบบการวิจัยควร
จะเป็นเช่นไรจึงจะเหมาะสมกับการแก้ไขปัญหาเฉพาะที่ต้องการทราบ สมมติฐานจะบอกแนวทางถึงกลุ่มตัวอย่าง
แบบสอบหรือเครื่องมือที่จ าเป็นต้องใช้ จะมีวิธีการอย่างไร วิธีการสถิติที่เหมาะสมคืออะไรตลอดจนจะรวบรวม
ข้อเท็จจริงในสถานการณ์ใดที่เหมาะสมกับปัญหา - สมมติฐานช่วยอธิบายปรากฏการณ์ การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์นั้นไม่ใช่เป็นเพียงการรวบรวม
ข้อเท็จจริงและจัดพวกตามคุณสมบัติผิวเผินของข้อเท็จจริงเหล่านั้น เช่นไม่ใช่เพียงแต่จัดตารางบอกลักษณะของ
พฤติกรรมก้าวร้าว หรือเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับยุวอาชญากรรมเท่านั้น แต่นักวิจัยจะต้องก าหนดว่าองค์ประกอบ
ใดก่อให้เกิดปรากฏการณ์เช่นนั้น โดยอธิบายให้เห็นความสัมพันธ์ที่น่าจะเป็นสาเหตุและผลอย่างเหมาะสม
สมมติฐานที่สร้างขึ้นจากข้อเท็จจริงจะช่วยให้ผู้วิจัยมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการส ารวจและอธิบายสิ่งที่แฝง
อยู่เบื้องหลังได้ - สมมติฐานช่วยก าหนดขอบเขตของข้อยุติ ถ้าหากผู้วิจัยได้ตั้งสมมติฐานในเชิงนิรนัยไว้ ก็เท่ากับได้
วางขอบเขตในข้อยุติไว้แล้ว ผู้วิจัยอาจระบุเหตุผลว่าถ้า H1 จริงแล้วข้อเท็จจริงเหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นจากการทดสอบ
กับข้อมูลจริง ข้อเท็จจริงนั้นเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้น ดังนั้นข้อยุติก็จะเป็นว่า ได้รับการยืนยันหรือไม่ได้รับการยืนยัน
สมมติฐานจึงให้ขอบเขตในการตีความข้อค้นพบอย่างเฉียบขาดและมีความหมายกระชับ ถ้าไม่มีสมมติฐานที่เป็นการ
ท านายล่วงหน้าข้อเท็จจริงก็ไม่มีโอกาสที่จะได้รับการยืนยันหรือไม่ได้รับการยืนยันแต่อย่างใด
แหล่งที่มาของสมมติฐาน
โดยที่สมมติฐานเป็นการคาดคะเนผลการวิจัยก่อนที่จะด าเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ฉะนั้น เพื่อให้
ค าตอบหรือสมมติฐาน นั้นมีความน่าเชื่อถือหรือถูกต้องมากที่สุด ผู้วิจัยควรหาวิธีการและเหตุผลที่จะน ามาใช้
ประกอบหือสนับสนุนการก าหนดสมมติฐาน ให้มากที่สุดเท่าที่จะท าได้ โดยอาจศึกษาจากแหล่งที่มาดังต่อไปนี้ - ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของผู้วิจัย เพราะในการท าวิจัยเรื่องหนึ่งเรื่องใด นั้น ผู้วิจัย
จะต้องมีความรู้หรือมีประสบการณ์อย่างดีในเรื่องที่จะท า เพราะความรู้ความสามรถ และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง
(หรือพัฒนาขึ้นโดยการศึกษาหาความรู้ เช่น การอ่าน เป็นต้น) จะช่วยให้การก าหนดสมมติฐานเป็นไปในลักษณะที่
ถูกต้อง หรือใกล้เคียงกับความเป็นจริง - การใช้หลักเหตุผล สมมติฐานที่ก าหนดขึ้นต้องสมเหตุสมผล ฉะนั้นผู้วิจัยจึงควรใช้หลักเหตุผลหรือ
ความเป็นไปได้มาคิดวิเคราะห์หรือแยกแยะสิ่งต่างๆ เพื่อหาเหตุ และผล ว่ามีอะไรส าคัญ และอะไรที่มี
ความสัมพันธ์กัน จากการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลนี้เอง ที่น ามาซึ่งการสร้างสมมติฐานที่ดี - การใช้ทฤษฎี แนวคิด และหลักการ ทั้งนี้เพราะทฤษฎี แนวคิด และหลักการต่างๆ เป็นสิ่งที่ได้รับ
การยืนยันสนับสนุน และพิสูจน์มาแล้ว ฉะนั้น หากผู้วิจัยมีความรู้ความเข้าใจในทฤษฎี หลักการ และแนวคิดต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการวิจัยอย่างดีแล้ว จะท าให้ผู้วิจัยเกิดแนวคิดในการก าหนดสมมติฐานได้ - การศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร บทความ รายงาน และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การศึกษาค้นคว้าจากแหล่ง
ดังกล่าวนี้ จะให้ประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้วิจัย ในการที่จะน าไปใช้ก าหนดสมมติฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลการวิจัยใน
ประเด็นปัญหาท านองเดียวกัน เช่น ต้องการศึกษาเรื่องความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของนักประชาสงเคราะห์
ท่านอาจไปค้นคว้าดูว่ามีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานอื่น
ต าแหน่งอื่นบ้างหรือไม่ถ้ามีก็ให้ดูต่อไปว่าผลการศึกษานั้นๆ พบว่าอย่างไร โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยอย่างไร เป็นต้น - การศึกษาเปรียบเทียบ การเปรียบเทียบความเป็นจริงต่างๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ หรือเปรียบเทียบ
กับความเป็นจริงที่ค้นพบในสาขาวิชาอื่นๆ ศาสตร์อื่นๆ อาจท าให้ผู้วิจัยสามารถน าไปก าหนดสมมติฐานได้ เพราะ
การวิจัยบางเรื่องต้องใช้วิธีการก าหนดสมมติฐานในเชิงเปรียบเทียบ - ความเชื่อ ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ ความเชื่อ ค่านิยม ขนบธรรมเนียม
ประเพณี และวัฒนธรรมต่างๆ ที่เชื่อถือกันมากๆ สามารถน ามาก าหนดเป็นสมมติฐานในการวิจัยได้ เช่น ในการ
ส่งเสริมให้ประชาชนใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ต้องพบกับปัญหามากมาย โดยที่ปัญหาหนึ่งพบว่า ผู้
ชายไทยมีความเชื่อว่า การใช้ถุงยางอนามัยเปรียบเสมือนการอาบน้ าโดยไม่ถอดเสื้อผ้า ท าให้สมรรถภาพทางเพศ
ลดถอยลง หรือในการรณรงค์ให้บิดามารดาส่งบุตรหลานเข้าเรียนในสถานศึกษาใกล้บ้าน พบว่าค่านิยมเกี่ยวกับ
ชื่อเสียงของสถานศึกษาท าให้การรณรงค์นี้ไม่ประสบความส าเร็จเท่าที่ควร เป็นต้น จึงเห็นได้ว่าความเชื่อ ค่านิยม
ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมต่างๆ อาจน ามาก าหนดเป็นสมมติฐานส าหรับน าไหพิสูจน์ และทดสอบ
ต่อไป
แหล่งที่มา
อาจารย์ประจ าคณะวิทยาศาสตร์ สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ที่มา : ajarnpat.com/data/document_study02.doc